ปฎิทิน

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

*_ดาวเคราะห์เร่ร่อน_*

ภาพจากศิลปินแสดงดาวเคราะห์เร่ร่อนซึ่งมีมวลใกล้เคียงกับดาวพฤหัส พิภพที่โดดเดี่ยวเหล่านี้อาจจะถูกผลักออกจากระบบดาวเคราะห์ที่พวกมันกำเนิดนั้น อาจจะมีอยู่มากกว่าจำนวนดาวฤกษ์ในกาแลคซีของเรา


      ขณะที่ดาวเคราะห์นอกระบบในกลุ่มนี้บางส่วนน่าจะเคยโคจรรอบดาวฤกษ์เมื่อนานมาแล้ว แต่ส่วนใหญ่น่าจะไม่เคยมีดาวฤกษ์เลย และพิภพที่ประหลาดเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นส่วนน้อย พวกมันน่าจะมีจำนวนมากกว่าดาวเคราะห์ปกติที่มีดาวฤกษ์แม่อย่างน้อย 50% และน่าจะมีเป็นจำนวนเกือบสองเท่าของจำนวนดาวฤกษ์วิถีหลักในกาแลคซีของเรา   นักดาราศาสตร์เคยทำนายการมีอยู่ของดาวเคราะห์ต่างด้าวที่ล่องลอยอย่างอิสระมานานแล้ว แต่จำนวนที่มีมากได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิจัยหลายๆ คนและน่าจะผลักดันให้ต้องกลับมาคิดว่าดาวเคราะห์เกิดขึ้นได้อย่างไร Takahiro Sumi ผู้เขียนนำการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ญี่ปุ่น กล่าวว่า การสำรวจดาวเคราะห์ที่ยึดกับระบบก่อนหน้านี้บอกเราแต่เพียงสิ่งที่อยู่รอดในวงโคจรในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม การค้นพบเหล่านี้ได้บอกเราว่ามีดาวเคราะห์มากน้อยแค่ไหนที่ก่อตัวขึ้นและกระจายออกไป
       Sumi และเพื่อนร่วมงานสร้างการค้นพบโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า ไมโครเลนซิงความโน้มถ่วง(gravitational microlensing) ซึ่งเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีวัตถุขนาดใหญ่ดวงหนึ่งผ่านหน้าดาวฤกษ์จากแนวสายตาของเรา วัตถุใกล้เคียงจะบิดเบนและขยายแสงจากดาวไกลโพ้น ทำหน้าที่เสมือนเป็นเลนส์ สิ่งนี้สร้างกราฟแสงซึ่งจะแสดงแสงดาวฤกษ์ที่สว่างขึ้นและมืดลงตามเวลา ซึ่งคุณลักษณะของกราฟจะบอกนักดาราศาสตร์ได้ไม่น้อยเกี่ยวกับขนาดของวัตถุพื้นหน้า ในหลายๆ กรณี วัตถุใกล้อาจเป็นดาวฤกษ์ ถ้ามันมีดาวเคราะห์ที่โคจรรอบๆ อยู่ ก็จะสร้างกราฟแสงทุติยภูมิ เตือนนักวิจัยถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์   ก่อนการศึกษางานปัจจุบัน นักดาราศาสตร์ได้ใช้เทคนิคไมโครเลนซิงความโน้มถ่วงเพื่อค้นพบดาวเคราะห์ต่างด้าวเพียงสิบกว่าดวงจากจำนวนเกือบ 550 ดวงที่ค้นพบ(ปฏิบัติการเคปเลอร์ของนาซ่าได้ตรวจพบว่าที่ดาวเคราะห์ 1235 ดวงโดยวิธีการที่แตกต่างออกไป แต่ยังคงต้องรอยืนยันจากการสำรวจติดตามผล)
        Sumi และทีมมองดูข้อมูลที่กินเวลา 2 ปีจากกล้องโทรทรรศน์ตัวหนึ่งในนิวซีแลนด์ซึ่งจับตาดูดาวฤกษ์ 50 ล้านดวงในใจกลางทางช้างเผือกเพื่อหาเหตุการณ์ไมโครเลนซิง พวกเขาได้จำแนกเหตุการณ์ 474 เรื่องรวมทั้ง 10 เรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไม่ถึงสองวัน ช่วงเวลาที่สั้นของทั้งสิบเหตุการณ์นั้นบ่งชี้ว่าวัตถุพื้นหน้าในแต่ละกรณีไม่ใช่ดาวฤกษ์ แต่เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเท่าดาวพฤหัส และไม่พบสัญญาณของดาวฤกษ์แม่เลย การสำรวจที่ทำโดยกล้องโทรทรรศน์ในชิลีได้สนับสนุนการค้นพบนี้ บอกว่า ดาวเคราะห์ 10 ดวงโคจรอยู่ห่างจากดาวฤกษ์แม่มากๆ (มากกว่า 10 AU) หรือไม่มีดาวฤกษ์แม่อยู่เลย พวกมันทั้งสิบอยู่ที่ระยะทางเฉลี่ย 1 หมื่นถึง 2 หมื่นปีแสงจากโลกการเกิดไมโครเลนซิงความโน้มถ่วงเป็นสิ่งที่พบได้ยากเนื่องจากพวกมันต้องการการเรียงตัวอย่างแม่นยำระหว่างดาวฤกษ์พื้นหลัง, วัตถุพื้นหน้ามวลสูง และโลก ดังนั้นการค้นพบเหตุการณ์ทั้งสิบในช่วง 2 ปีบอกว่ามีประชากรกลุ่มใหญ่ของดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลเท่าดวงพฤหัสซึ่งไม่ได้อยู่กับระบบหรืออยู่ห่างไกลจากระบบทั่วทั้งกาแลคซี Sumi และทีมคำนวณว่าดาวเคราะห์เหล่านี้น่าจะมีมากเป็นสองเท่าของจำนวนดาวฤกษ์วิถีหลัก(main-sequence star) ในกาแลคซีทางช้างเผือกของเรา และพวกมันก็น่าจะมีจำนวนมากกว่าดาวเคราะห์ปกติ(ที่มีดาวฤกษ์แม่) มากกว่า 50%
การสำรวจไม่ได้ไวต่อดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กกว่าดาวพฤหัสและดาวเสาร์ แต่ทฤษฎีบอกว่าดาวเคราะห์ที่มีมวลเบากว่าอย่างโลก ควรจะถูกผลักออกจากดาวฤกษ์แม่ของพวกมันได้บ่อยกว่า ด้วยเหตุนี้ จึงคิดว่าดาวเคราะห์มวลเบาน่าจะมีมากกว่าดาวพฤหัสที่ล่องลอยอิสระ   การศึกษางานอื่นยังบอกว่าเป็นไปได้ยากที่ดาวเคราะห์ยักษ์จะโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 10 AU ดังนั้นทีมวิจัยจึงบอกว่าดาวเคราะห์มวลดาวพฤหัสเกือบทั้งหมด(อย่างน้อยประมาณ 75%) น่าจะเป็นพวกเร่ร่อน ล่องลอยในอวกาศโดยไม่ยึดติดกับดาวฤกษ์ใด    ทฤษฎีทำนายว่าพวกเร่ร่อนมีอยู่ทั่วกาแลคซี และนักวิจัยคนอื่นๆ ก็พบหลักฐานของวัตถุอิสระที่แท้จริงแล้วอาจจะเป็นดาวเคราะห์ในวัยเยาว์ แต่พิภพเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าตั้งแต่ 3 ถึง 10 เท่ามวลดาวพฤหัส และยังมีความไม่แน่นอนในการตรวจวัด การตรวจพบหลายๆ ครั้งก่อนหน้านี้แท้จริงแล้วเป็นดาวฤกษ์แท้งที่เรียกว่าดาวแคระน้ำตาล Sumi และเพื่อนร่วมงานรายงานผลสรุปในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 19 พฤษภาคม
ดาวเคราะห์เร่ร่อนที่เพิ่งพบใหม่นี้ อาจจะก่อตัวอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์แม่ จากนั้นก็ถูกผลักออกจากระบบสุริยะของพวกมันโดยอิทธิพลแรงโน้มถ่วงกับดาวเคราะห์ยักษ์เพื่อนบ้าน จริงๆ แล้วปฏิสัมพันธ์ดาวเคราะห์-ดาวเคราะห์เช่นนี้ส่งผลให้เกิดวงโคจรประหลาดที่แนบชิดของดาวเคราะห์กลุ่มที่เรียกว่า ดาวพฤหัสร้อน    ปริมาณของพิภพที่ไร้ดาวฤกษ์ดูจะทำให้นักดาราศาสตร์ต้องกลับมาคิดใหม่ถึงแนวความคิดบางอย่างเกี่ยวกับการก่อตัวดาวเคราะห์ Sumi กล่าวว่า ทฤษฎีก่อตัวดาวเคราะห์ปัจจุบันที่ยอมรับมากที่สุด(แบบจำลองสะสมแกนกลาง) ไม่สามารถสร้างดาวเคราะห์ยักษ์ได้มากมาย ดังนั้นเราต้องการทฤษฎีที่แตกต่างออกไปเพื่อสร้างดาวเคราะห์ยักษ์ให้ได้มากๆ อย่างเช่น แบบจำลองความไร้เสถียรความโน้มถ่วง(gravitational instability model)
        ในแบบจำลองแบบสะสมแกนกลาง ฝุ่นเกาะตัวสร้างแกนกลางแข็งขึ้น ซึ่งต่อมาก็สะสมก๊าซไว้รอบๆ กลายเป็นดาวเคราะห์ แบบจำลองความไร้เสถียรความโน้มถ่วงบอกถึงการยุบตัวอย่างรวดเร็วของก๊าซ โดยแกนกลางก่อตัวขึ้นในภายหลังเนื่องจากการตกตะกอน  การศึกษาใหม่น่าจะต่อยอดให้เกิดงานวิจัยติดตามผลหลายชิ้น หนึ่งในก้าวต่อไปก็คือการฝึกให้เครื่องมืออื่นหาดาวเคราะห์ไมโครเลนซิง เพื่อที่จะจับตาดูพวกมันเพื่อหาสัญญาณของดาวฤกษ์แม่ต่อไป งานลักษณะดังกล่าวซึ่งต้องใช้เวลาหลายปี น่าจะเผยให้เห็นว่ามีพิภพมากน้อยแค่ไหนที่มีดาวฤกษ์แม่ และอีกมากน้อยแค่ไหนที่เร่ร่อน Joachim Wambsganss นักดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก เขียนในบทความที่เกี่ยวข้องเสนอในวารสาร Nature ว่า ความสำคัญของการค้นพบนี้กว้างขวาง เรามีเงื่อนงำใหม่ของประชากรมวลดาวเคราะห์กลุ่มใหม่ในกาแลคซีของเรา ขณะนี้เราต้องขุดคุ้ยคุณสมบัติ, การกระจาย,

สภาพพลวัติและที่มาของพวกมัน:http://www.darasart.com/

*_Too Much So Much Very Much_*






http://www.youtube.com/watch?v=0q1UBc32RwE

*_ภาวะโลกร้อน_*

      ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)
     ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ
     แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบันภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง

ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/usa_s/global_warming/sec01p01.html

*_จะรักหรือจะทิ้งก็บอกคฃตรงๆๆ_*




http://www.youtube.com/watch?v=qZC4tQUtybU

!_อันตรายจากครีมหน้าขาว_!

ผิวขาวใส ใครๆก็ปรารถนา ครีมหน้าขาว จึงเป็นเครื่องสำอาง ที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อเราให้ผิวขาวขึ้นดังใจหวัง แต่รู้หรือไม่ว่า ครีมหน้าขาว อาจไม่ได้ทำให้ผิวสวยเสมอไป แต่อาจทำให้ผิวของคุณกลายเป็นผิวเสียได้เช่นกัน
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ทำให้ผิวขาว นั้นได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มหนุ่ม สวย เกือบทุกวัย ยิ่งทุกวันนี้ครีมผิวขาวยิ่งหาซื้อได้ง่ายทั่วไป และ มีการโฆษณาชวนเชื่อ จนเหลือเชื่อ ทำให้ผู้บริโภคความงามส่วนใหญ่ หลงเชื่ออย่างง่ายดายบริษัทเครื่องสำอาง จึงได้ทำการคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งครีมที่ทำให้ผิวหน้าขาวใส ในปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์เหล่านี้วางจำหน่ายอยู่มากมายในท้องตลาดซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์ก็มีส่วนประกอบของสารสำคัญที่ทำให้ ผิวขาว แตกต่างกันไป
ไฮโดรควิโนน เป็นสารเคมีซึ่งเป็นที่นิยมในการนำมาเตรียมครีมที่ทำให้ หน้าขาว ในอดีตเนื่องจากเห็นผลได้เร็วไฮโดรควิโนน ออกฤทธิ์โดยการการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนังหรือ ที่เรียกว่า เมลานิน จึงมีผลทำให้ ผิวขาว ขึ้นได้
การใช้ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ ไฮโดรควิโนน นั้นควรใช้กับผู้ที่มีปัญหาฝ้าหรือ รอยด่างดำจากสิวที่รุนแรงและจะต้องมีเปอร์เซ็นต์ของตัวยาที่แน่นอนระบุอยู่นอกจากนี้ควรใช้ในระยะเวลาที่จำกัด ไม่ควรใช้นานเกินไปและไม่ควรหยุดใช้ยาทันทีเนื่องจากอาจจะทำให้ผิวคล้ำลงกว่าเดิมได้จากการที่ผิวหนังเร่งผลิตเซลล์เม็ดสีมาทดแทน
นอกจากนี้ ไฮโดรควิโนน เป็นสารที่ทำปฏิกิริยากับแสงแดดซึ่งหากทายาที่มีส่วนผสมของ ไฮโดรควิโนน แล้วไม่ทาครีมกันแดด ฝ้าจะดำกว่าเดิมได้            
ในปัจจุบันนี้ ไฮโดรควิโนน ได้ถูกสั่งห้ามใส่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่วางจำหน่ายทั่วไปอย่างไรก็ตามในคลินิกที่จ่ายยารักษาฝ้าโดยแพทย์ยังสามารถจ่ายให้ผู้ป่วยได้ตามความเหมาะสมตามดุลยพินิจของแพทย์ 
การใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ ไฮโดรควิโนน ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ เช่นการหาซื้อครีมทาฝ้ามาใช้เอง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักจะผสม ไฮโดรควิโนน ในปริมาณสูงมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 3-5%[สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดให้ผสมสาร ไฮโดรควิโนน ในการรักษาฝ้าได้ไม่เกิน 2%]ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ได้
เริ่มจาก อาการระคายเคืองต่อผิวเกิดจุดด่างขาวที่หน้าผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หายทำให้เกิดโรคผิวหนังขึ้นเกิดตุ่มนูนสีดำบริเวณโหนกแก้มและสันจมูกซึ่งเป็นบริเวณที่ทายาบ่อยๆหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 6 เดือนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรสีน้ำเงินอมดำได้ซึ่งอาจเกิดจากการที่ผิวหนังมีการปรับตัวให้สร้างเม็ดสีมากขึ้นรวมทั้งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ที่มา:http://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1948&pagetype=product

*_ยังโสดจ้า_*




http://www.youtube.com/watch?v=cLvSVTs22Kw

ความรู้ทั่วไป

อนุภาคของของแข็งมีพลังงานจลน์น้อยมาก แต่ก็ยังสั่นได้ เนื่องจากอนุภาคของของแข็งอยู่ชิดกันมากกว่าของเหลว และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของแข็งมีมากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของเหลว ของแข็งจึงมีรูปร่างแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ ของแข็งบางชนิดระเหิดได้ เช่น แนพทาลีน โดยเกิดที่ผิวหน้าของของแข็ง


ที่มาhttp://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic3/solid.html

ความรู้เกี่ยวกับเคมี

อนุภาคของของแข็งมีพลังงานจลน์น้อยมาก แต่ก็ยังสั่นได้ เนื่องจากอนุภาคของของแข็งอยู่ชิดกันมากกว่าของเหลว และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของแข็งมีมากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของเหลว ของแข็งจึงมีรูปร่างแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ ของแข็งบางชนิดระเหิดได้ เช่น แนพทาลีน โดยเกิดที่ผิวหน้าของของแข็ง